รักษารากฟัน ที่ไหนดี รักษารากฟันอย่างไร
รากฟัน คือ ส่วนของฟันที่อยู่ใต้เหงือกลึกลงไปในเบ้าฟัน รากฟันจะฝังอยู่ในกระดูกขากรรไกรและถูกคลุมทับด้วยเหงือก ประกอบด้วย เคลือบรากฟัน (Cementum) ที่มีสีเหลืองอ่อน เป็นส่วนชั้นนอกสุดของรากฟัน หุ้มรากฟันไว้ ซึ่งทำหน้าที่เป็นที่ยึดให้รากฟันติดกับกระดูก โดยเคลือบรากฟันนี้ จะมีความแข็งน้อยกว่าเคลือบฟัน
รักษารากฟัน การรักษารากฟัน คือการกำจัดเนื้อเยื่อในโพรงฟันและเส้นประสาทที่มีการติดเชื้อหรืออักเสบ ร่วมกับการทำความสะอาดในคลองรากฟันให้ปราศจากเชื้อ จากนั้นจึงอุดคลองรากฟันและบูรณะตัวฟันเพื่อความแข็งแรงและสวยงามเพื่อให้ฟันกลับมาใช้งานได้ตามปกติ
แบบไหนที่ต้อง รักษารากฟัน
- ฟันผุมาก ผุลึก หรือ ผุต่อเนื่องมาเป็นระยะเวลานาน
กรณีฟันที่ได้รับอุบัติเหตุ เกิดการกระทบกระแทกบริเวณตัวฟัน ทำให้ฟันซี่นั้นตาย มีสีเปลี่ยนไปจากสีของเนื้อฟันปกติ กลายเป็นสีดำคล้ำ - ฟันแตก ฟันร้าว มักจะมีสาเหตุหลักมาจากการเคี้ยวที่รุนแรง หรือมีนิสัยชอบกัดอาหารแข็ง เช่น น้ำแข็ง หรือ กระดูกอ่อน
- โรคเหงือก ผู้ที่มีอาการของโรคเหงือกที่ไม่ได้รับการรักษา อาจพบการติดเชื้อ จากบริเวณร่องเหงือกเข้าสู่ปลายรากฟัน ส่งผลให้เกิดการอักเสบของรากฟัน
วิธีรักษารากฟัน
ขั้นตอนการรักษา เริ่มจากการใส่ยาชา ใส่แผ่นยางกันน้ำลาย จากนั้นจึงกรอฟันเพื่อเปิดทางเข้าสู่โพรงประสาทฟัน กำจัดเนื้อเยื่อที่มีการติดเชื้อออกด้วยเครื่องมือ ร่วมกับการล้างคลองรากฟันด้วยน้ำยาที่มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อ และใส่ยาฆ่าเชื้อในคลองรากฟัน เมื่อฟันมีอาการที่ปกติแล้ว จะทำการอุดคลองรากฟันเพื่อปิดช่องว่างไม่ให้เชื้อโรคกลับเข้ามาอาศัยได้อีก โดยปกติจะใช้เวลาการรักษาประมาณ 2-3 ครั้งขึ้นอยู่กับความยากง่ายและสภาพการติดเชื้อของฟันแต่ละซี่ หลังจากนั้นจึงทำการบูรณะสร้างตัวฟัน ให้กลับมาใช้งานได้ตามปกติ
หลังการรักษารากฟัน
- ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของทันตแพทย์ เพื่อให้การรักษารากฟันมีประสิทธิภาพ
- ภายหลังรักษารากฟันใหม่ๆ โดยเฉพาะในครั้งแรกอาจมีอาการเจ็บได้บ้างใน 2-3 วันแรกและจะค่อยๆ จางหายไปเอง
- ควรระมัดระวังในการใช้งานซี่ฟันที่รักษาราก เนื่องจากปริมาณเนื้อฟันจะเหลือน้อยลง ฟันจะเปราะมากขึ้น ไม่ควรเคี้ยวอาหารเพียงด้านใดด้านหนึ่ง
- ระหว่างรักษารากฟัน หากวัสดุอุดฟันชั่วคราวเกิดหลุดออกมาให้คนไข้รีบกลับไปพบทันตแพทย์เนื่องจากเชื้อโรคในช่องปากสามารถเขาสู่ภายในคลองรากฟันได้
- การรักษาคลองรากฟันเป็นการรักษาที่ต้องทำต่อเนื่อง ตามจำนวนครั้งที่ทันตแพทย์วินิจฉัย หากผู้ป่วยละเลยไม่มาตามนัด ฟันซี่นั้นอาจจำเป็นต้องถูกถอนออกได้
นัดเวลาเพื่อขอคำปรึกษา รักษารากฟัน
โทร : 089-668-7283 02-733-1201 หยุดวันศุกร์